ชุดหมากรุกสุดหรูจาก Christofle

ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในปี 1830 Christofle แบรนด์เครื่องเงินชั้นนำจากฝรั่งเศส พร้อมทั้งบริษัทลูก ได้ใช้ตราประจำบริษัทหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์รูปไก่ ไปจนถึงหัวแมว แต่สำหรับผลิตภัณฑ์คุณภาพเยี่ยมที่ผ่านการชุบเงิน ทางแบรนด์มักเลือกใช้โลโก้รูป “อัศวิน” ซึ่งเป็นหมากรุกที่มีพลังมากที่สุดบนกระดานมาเป็นสัญลักษณ์

ล่าสุด Christofle ได้เปิดตัวเกมกระดานแรกของแบรนด์ เป็นชุดหมากรุกที่ชื่อว่า “Duel des Thés” ซึ่งเป็นการตีความมรดกของแบรนด์อย่างชาญฉลาด “เราคิดถึงกระแสความนิยมของเกมกระดาน และคำนึงว่าอะไรจะเป็นการตีความในแบบฉบับของ Christofle” Marie Beaussier ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ กล่าวกับ Robb Report “แนวคิดคือการนำชุดชาสองแบบอันเป็นเอกลักษณ์ คือยุคอาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค มาประชันกัน” ผลลัพธ์ที่ได้คือชุดหมากรุกสุดหรู โดยแทนที่ตัวหมากด้วยกาน้ำชา ที่ใส่นม ถ้วยชา และชามน้ำตาล

Thomas Jean ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของคริสโตเฟล กล่าวว่า แม้กระบวนการผลิตจะเหมือนกับการผลิตชุดน้ำชาปกติ แต่ความท้าทายอยู่ที่ขนาด “การทำชิ้นงานขนาดเล็กเช่นนี้ ทุกขั้นตอนล้วนละเอียดอ่อน เพราะหากมีข้อผิดพลาด ช่างฝีมือจำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่หมด" แทนที่จะใช้เครื่องจักร ช่างฝีมือในโรงงานของแบรนด์ที่นอร์มองดี ต้องใช้มือประดิษฐ์ชิ้นส่วนทั้งหมด รวมถึงแม่พิมพ์และเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้ในการผลิต

Beaussier กล่าวต่อว่า “ชิ้นงานแต่ละชิ้นมีขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ 2 ถึง 7 เซนติเมตร ซึ่งยิ่งเพิ่มความซับซ้อนให้กับโปรเจคท์นี้” แม้จะเป็นหมากรุกขนาดเล็ก แต่ก็ใช้งานได้จริง กาน้ำชาจิ๋วมีรูสำหรับเทน้ำ ฝาเปิด-ปิด และมีรายละเอียดครบถ้วนเหมือนกาน้ำชาขนาดปกติ ส่วนกระดานหมากรุกนั้น ประดิษฐ์โดย “Jean-Brieuc Chevalier” ช่างเฟอร์นิเจอร์จากเมือง Angers โดยใช้ไม้โอ๊คฝังลงบนช่องสี่เหลี่ยมที่ทำจากเงินสเตอร์ลิงเงา

ชุดหมากรุกแต่ละชุดใช้เวลาผลิต 6 เดือน และมีราคาอยู่ที่ $250,000 (ประมาณ 8.75 ล้านบาท) โดย Christofle จะผลิตเพียงแค่ 8 ชุดเท่านั้น คุณสามารถชมชุดแรกได้ที่ร้าน Christofle ในห้าง Harrods กรุงลอนดอน แต่สามารถสั่งซื้อได้ผ่านบูติคสาขาอื่นๆ โชคดีที่การเป็นเจ้าของหมากรุกชุดนี้ ไม่ต้องใช้กลยุทธ์มากมายเท่ากับการเอาชนะเกมหมากรุกจริงๆ “หมากรุกนั้นเหมือนกับการทำเครื่องเงิน” Beaussier กล่าว “มันต้องอาศัยความพิถีพิถัน และต้องใช้เวลานานกว่าจะเก่ง”

จากบทความโดย Abby Montanez

Christofle and its subsidiaries have used a variety of hallmarks, from a rooster to a cat’s head, since the Parisian firm was founded in 1830. It employs the knight, one of the most powerful pieces on the chessboard, on the high-quality items it has silver-plated. In a winking nod to that heritage, the company has launched its first game, a chess set called Duel des Thés.

“We were thinking about how games are booming and what would be Christofle’s interpretation," Marie Beaussier, the brand’s director of product design, tells Robb Report. “The idea was to have two iconic tea services, Art Nouveau and Art Deco, actually compete." The resulting set, whose name translates to “duel of teas," is a playful spin that replaces key pieces with teapots, creamers, cups, and sugar bowls.

Thomas Jean, Christofle’s director of product development, notes that the method is the same for creating a standard tea service, “but the miniaturization of all the pieces makes each step immensely challenging because if it’s not done well, the silversmith will have to start over." Instead of relying on machine manufacturing, artisans make each component—plus all the molds and other tools used to produce them—by hand at the brand’s factory in Normandy.

“The pieces are quite small, from two to seven centimeters, so it adds another level of complexity to the project," Beaussier says. The 32 chessmen, tiny as they may be, are also fully functional: The mini teapots come complete with hollowed-out spouts and hinged lids and are as detailed as their life-size counterparts. The boards are assembled by Jean-Brieuc Chevalier, a cabinetmaker from Angers, who inlays pin oak with reflective sterling-silver squares.

The sets, which require six months to produce, are priced at $250,000, and Christofle will make only eight examples. You can see the first edition at Christofle’s store in Harrods, in London, but you can place an order through any of its boutiques. Luckily, winning the set won’t require as much strategy as winning the game itself. “Chess is a lot like silversmithing," says Beaussier. “It’s demanding, and it takes a long time to become good."

From the article by Abby Montanez

Share on

Published 13th May 2024
×