ชื่อของ Isabella Stewart Gardner อาจจะทำให้เราคิดถึงข่าวโจรกรรมภาพเขียนอันน่าอับอายที่ยังไม่คลี่คลายเมื่อปี 1990 ซึ่งสูญเสียผลงานศิลปะไปถึง 13 ชิ้น รวมถึงภาพวาดโดย Rembrandt, Vermeer และ Manet จากพิพิธภัณฑ์ของเธอที่บอสตัน แต่จริงๆ แล้ว เธอควรได้รับการจดจำในฐานะนักสะสมผู้รอบรู้ มีสายตาอันแหลมคมของภัณฑารักษ์ และมีความมุ่งมั่นของนักธุรกิจในการสร้างวัง (palazzo) เพื่อจัดแสดงสมบัติล้ำค่าของเธอไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ชื่นชมตลอดไป Natalie Dykstra ผู้เขียนชีวประวัติที่ได้รค้นคว้าอย่างละเอียดและเล่าถึงชีวิตขอ Isabella ในฐานะผู้หญิงที่เติบโตภายใต้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดของสังคมนิวยอร์คในศตวรรษที่ 19 และแต่งงานเข้าสู่สังคมชนชั้นสูงของบอสตันที่เคร่งครัดยิ่งกว่า เธอไม่ยอมจำนนต่อบทบาทของสตรีชั้นสูงแบบเดิมๆ ชีวิตของเธอเปรียบเหมือนผืนผ้าทอสีสันสดใสที่ร้อยเรียงมาจากศิลปะ การเดินทาง และวัฒนธรรม เธอเดินทางไปยังอียิปต์ ฝรั่งเศส อิตาลี และญี่ปุ่น ซึมซับสไตล์ศิลปะอันหลากหลาย และยังได้เป็นเพื่อนกับศิลปินชื่อดังอย่าง ซาร์เจนท์ วิสต์เลอร์ และแม้กระทั่งนักเขียนอย่างเฮนรี่ เจมส์ และศิลปินคนอื่นๆ ในสมัยของเธอ แม้จะเริ่มต้นด้วยความผิดพลาดจากการซื้อภาพวาดปลอมของ Zurbarán แต่ในไม่ช้าเธอก็พัฒนาสายตาในการมองหาผลงานชิ้นเอกได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความช่วยเหลือของ Bernard Berenson พ่อค้าขายภาพศิลปะ
การ์ดเนอร์ใช้ชีวิตช่วงปลายของเธออยู่ในพิพิธภัณฑ์ ดูแลจัดการทุกอย่างเอง เธอตัดสินใจตำแหน่งจัดวางของศิลปะทุกชิ้น และระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยว่าห้ามเคลื่อนย้ายเด็ดขาด เธอใส่ใจแม้กระทั่งรายละเอียดเล็กน้อย โดยกำหนดให้มีการจัดแสดงชิ้นผ้าจากชุดเดรสสุดโปรดจากห้องเสื้อ House of Worth ไว้เคียงข้างภาพวาดเรื่อง The Rape of Europa ของทิเชียน เธอได้สะสมผลงานชิ้นสำคัญมากมาย ซึ่งก็คือผลงานเดียวกันกับที่ถูกโจรกรรมไปอย่างน่าเศร้าในปี 1990 กรอบรูปที่ว่างเปล่าที่ยังคงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องเตือนใจถึงเหตุการณ์โจรกรรมอันเลวร้ายนั้น ปัจจุบันกรอบรูปที่ไร้ภาพเหล่านั้นยังคงแขวนอยู่เป็นรอยโหว่ และโอกาสที่จะได้เห็นผลงานศิลปะกลับคืนมายิ่งเลือนรางลงตามกาลเวลา
จากบทความโดย Julie Belcove
The name may instantly conjure headlines about the brazen unsolved 1990 theft of 13 works of art—including paintings by Rembrandt, Vermeer, and Manet—from her eponymous Boston museum, but Isabella Stewart Gardner deserves to be remembered for her studied collecting, curator’s eye, and entrepreneur’s determination to build a palazzo to showcase her treasures in perpetuity. In this thoroughly researched biography, author Natalie Dykstra depicts a woman raised within the strictures of 19th-century New York society and married into the even more hierarchical Boston social order who managed to redefine the role of benefactor. An energetic traveler and aficionada of music, fashion, and gardening as well as art, Gardner soaked up the aesthetics of Egypt, France, Italy, and Japan, socializing with Henry James and befriending Sargent, Whistler, and other artists of her day. Her old-masters buying spree began inauspiciously—a “Zurbarán" that wasn’t—but she was soon confidently importing masterpieces, aided by the double-dipping dealer Bernard Berenson.
Gardner lived out her final decades atop the museum, deciding where each artwork be installed, mandating in her will they were never to be moved. She oversaw every detail, even dictating that a swatch of a favorite House of Worth gown be displayed beneath Titian’s The Rape of Europa. Today, the frames from which thieves cut their loot still hang empty, the chance they’ll be made whole again fading with every passing year.
From the article by Julie Belcove